ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบางระจันวิทยาตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 17 เดือนพฤษภาคม  พ.ศ.2499  ณ ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยการริเริ่มของพระมหาเยื้อน กิติคุโณ (หลวงพ่อพระครูรัตนาธาร)  เจ้าอาวาสวัดม่วงชุมร่วมกับนายเพียรศักดิ์  นิสัยสุข ผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรีในสมัยนั้น โดยมีนายริน  ฉิมพาลี  เป็นครูใหญ่  คนแรก  ใช้โรงน้ำร้อนในวัดม่วงชุมเป็นสถานที่เรียน ต่อมาดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว  ด้วยเงินบริจาคของผู้ปกครองนักเรียนและทำพิธีเปิดป้ายเมื่อ วันที่  17  เดือนพฤษภาคม  พ.ศ.2500 
วันที่ 30 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2500  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวร  จำนวน  537,600  บาท  อาคารเรียนถาวรเป็นตึกสองชั้น  10  ห้องเรียน  ใช้เป็นห้องเรียน  8  ห้อง  อีก  2  ห้อง  ใช้เป็นห้องครูใหญ่และห้องธุรการ  ใช้เวลาในการก่อสร้าง  8  ปี  สร้างเสร็จแล้วมีพิธีเปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่  3  เดือนเมษายน พ.ศ.2508  โดยมีนายสนั่น  สุมิตร  ซึ่งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาในสมัยนั้นเป็นประธาน
                   วันที่ 20  เดือนเมษายน พ.ศ.2519 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมโรงเรียนบางระจัน  (ประถมปลาย)  รวมกับโรงเรียนบางระจันวิทยา  มีการรวมทรัพย์สินเป็นของโรงเรียนบางระจันวิทยาและใช้พื้นที่ที่ตำบลสิงห์  อำเภอบางระจัน  เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเนื่องจากที่ตำบลสิงห์มีพื้นที่มากกว่าตำบลไม้ดัด
                   ปีการศึกษา  2522  โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
                   ปีงบประมาณ  2522  ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค (ครึ่งหลัง) ขนาด 8 ห้อง จำนวน 1 หลัง และโรงฝึกงานแบบ 102/27  ขนาด 2 ห้อง จำนวน 1 หลัง
                   ปีการศึกษา  2528  ได้รับอนุมัติให้เปิดหน่วยการเรียนเคลื่อนที่  ณ  ต.สระแจง  อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี  จำนวน 1 แห่ง เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3 
                   ปีการศึกษา 2532  ได้รวมโรงเรียนที่ตำบลไม้ดัดและตำบลสิงห์เป็นแห่งเดียวมาจนถึงปัจจุบัน
ปีงบประมาณ 2533 ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล (ปรับปรุง 29) จำนวน 1 หลัง เนื่องจากงบประมาณน้อยจึงตัดทอนอาคารเรียน  เหลือเพียง 12 ห้อง 
                   ปีงบประมาณ  2538  ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  216  ล (ปรับปรุง  29)  ขนาด  16  ห้อง  จำนวน 1 หลัง 
ปีงบประมาณ 2538 ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุมแบบ 100/27  จำนวน 1 หลัง และหอถังประปา  ความจุ  27  ลูกบาศก์เมตร  จำนวน 1 ถัง
                   ปีงบประมาณ  2543  ได้งบประมาณสร้างอาคารฝึกงานแบบ  204/27  ขนาด 4 ห้อง  จำนวน 1 หลัง
                   ปีงบประมาณ  2554  ได้งบประมาณสร้างอาคาร สปช 105/29  ขนาด 4 ห้อง จำนวน 1 หลัง และอาคาร สพฐ 1 ขนาด 15 ห้อง  จำนวน 1 หลัง
                   ปีงบประมาณ  2556  ได้งบประมาณสร้างหอประชุม 101 ล/27  (อาคารหอประชุมปรับปรุงชั้นบนเป็นโรงพลศึกษา)  จำนวน 1 หลัง